ประมวลกฎหมายที่ดิน หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้
"ที่ดิน" หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ ชายทะเลด้วย
"สิทธิในที่ดิน" หมายความว่า กรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึง สิทธิครอบครองด้วย
"ใบจอง" หมายความว่า หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครอง ที่ดินชั่วคราว
"หนังสือรับรองการทำประโยชน์" หมายความว่า หนังสือคำรับรอง จากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว" ใบไต่สวน" หมายความว่า หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อการ ออกโฉนดที่ดิน และให้หมายความรวมถึงใบนำด้วย
"โฉนดที่ดิน" หมายความว่า หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้หมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจอง ที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"
"การรังวัด" หมายความว่า การรังวัดปักเขต และทำเขต จด หรือคำนวณการรังวัดเพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดิน หรือทราบที่ตั้ง และเนื้อที่ของที่ดิน
"การค้าที่ดิน" หมายความว่า การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งที่ดิน เพื่อประโยชน์ในกิจการค้าหากำไรโดยวิธีขาย แลกเปลี่ยน หรือให้ เช่าซื้อที่ดิน
"ทบวงการเมือง" หมายความว่า หน่วยราชการที่มีฐานะเป็น นิติบุคคลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งเป็นผู้ ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนี้ และพนักงานอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายนี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน และตามประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 2 ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ
มาตรา 3 บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมาย ก่อนวันที่ประมวลกฎหมาย นี้ใช้บังคับ หรือได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
(2) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการ ครองชีพหรือกฎหมายอื่น
มาตรา 4 ภายใต้บังคับ มาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไป และให้คุ้มครองตลอดถึงผู้รับโอนด้วย
มาตรา 4ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขใหม่โดย มาตรา เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดย ข้อ 4 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 พ.ศ. 2515
มาตรา 5 ผู้ใดมีความประสงค์เวนคืนสิทธิในที่ดินให้แก่รัฐ ให้ยื่น คำขอเวนคืนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 71
มาตรา 6 นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ บุคคลใดมีสิทธิในที่ดินตามโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อย ที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เกินสิบปีติดต่อกัน
(2) สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปี ติดต่อกัน
ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือที่ปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาล และศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าว ให้ที่ดินนั้น ตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป
มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขใหม่โดย มาตรา เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดย ข้อ 3 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 พ.ศ. 2515
มาตรา 7 (ถูกยกเลิกทั้งหมด)
มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขใหม่โดย มาตรา เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดย มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526
มาตรา 8 บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็น อย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมาย ให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือเป็นที่ดินที่ได้หวง ห้ามหรือสงวนไว้ตามความต้องการของทบวงการเมืองอาจถูกถอน สภาพ หรือโอนไปเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น หรือนำไปจัดเพื่อประชาชน ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ถ้าทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจัดหาที่ดินมาให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนแล้ว การถอนสภาพ หรือโอนให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ แต่ถ้าพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ ในที่ดินนั้น หรือที่ดินนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปจากการเป็นที่ดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกัน และมิได้ตกไป เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใดตามอำนาจ กฎหมายอื่นแล้วการถอนสภาพให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
(2) ที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือที่ดินที่ได้ หวงห้ามหรือสงวนไว้ตามความต้องการของทบวงการเมืองใด ถ้า ทบวงการเมืองนั้นเลิกใช้หรือไม่ต้องการหวงห้ามหรือสงวนต่อไป เมื่อ ได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพแล้วคณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ ทบวงการเมือง ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ใช้หรือจัดหาประโยชน์ก็ได้ แต่ถ้าจะ โอนต่อไปยังเอกชนให้กระทำโดยพระราชบัญญัติ และถ้าจะนำไปจัด เพื่อประชาชน ตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ให้กระทำ โดยพระราชกฤษฎีกา
การตราพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาตามวรรค 2 ให้มีแผนที่แสดงเขตที่ดินแนบท้ายพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา นั้นด้วย
มาตรานี้ ได้ถูกยกเลิกไปทั้ง มาตรา และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดย ข้อ 1 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 พ.ศ. 2514
มาตรา 8ทวิ ที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง หรือที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งได้ถอนสภาพตาม
มาตรา 8 (1) แล้วรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียน เพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ ประโยชน์ในราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง
ก่อนที่จะจัดขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้มีการรังวัดทำแผนที่ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ประกาศการจัดขึ้นทะเบียน ให้ ราษฎรทราบมีกำหนดสามสิบวัน ประกาศให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และในบริเวณที่ดินนั้น
การจัดขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจา- นุเบกษา และให้มีแผนที่แนบท้ายประกาศด้วย
มาตรานี้ ได้มีการเพิ่มเติมใหม่โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ. 2515) กำหนดไว้ในข้อ 2
มาตรา 8ตรี ที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อธิบดีอาจจัด ให้มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเพื่อแสดงเขตไว้เป็นหลักฐาน
แบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ที่ดินตามวรรคหนึ่งแปลงใดยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เขตของที่ดินดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักฐานของทางราชการ
มาตรานี้ ได้มีการเพิ่มเติมใหม่โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ. 2515) กำหนดไว้ในข้อ 2
มาตรา 9 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่แล้วห้ามมิให้บุคคลใด
(1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่อสร้าง หรือ เผาป่า
(2) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพ ที่ดินที่หิน ที่กรวดหรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้าม ในราชกิจจานุเบกษา หรือ
(3) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
มาตรา 9ทวิ ผู้รับอนุญาตตาม มาตรา 9 ต้องเสียค่าตอบแทนเป็น รายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามวิธีการและอัตราที่กำหนด ไว้ในข้อบัญญัติจังหวัด แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายประมวล กฎหมายนี้
มาตรานี้ ได้มีการเพิ่มเติมใหม่โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ. 2515) กำหนดไว้ในข้อ 3
มาตรา 10 ที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง และ มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น ให้ อธิบดีมีอำนาจจัดหาผลประโยชน์ ในการจัดหาผลประโยชน์ให้รวมถึง จัดทำให้ที่ดิน ใช้ประโยชน์ได้ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า และให้เช่าซื้อ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดหาผลประโยชน์ ให้กำหนดโดยกฎ กระทรวง แต่สำหรับการขายการแลกเปลี่ยน และการให้เช่าซื้อที่ดิน ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี
การดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ตามความใน มาตรานี้ ให้คำนึงถึง การที่จะสงวนที่ดิน ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังด้วย
มาตรา 11 การจัดหาผลประโยชน์ซึ่งที่ดินของรัฐตามนัยดังกล่าว มาใน มาตรา ก่อนนี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่น เป็น ผู้จัดหาผลประโยชน์สำหรับรัฐหรือบำรุงท้องถิ่นก็ได้ทั้งนี้ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 12 ที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิครอบครอง รัฐมนตรี มีอำนาจให้สัมปทาน ให้หรือให้ใช้ในระยะเวลาอันจำกัด ทั้งนี้ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติใน มาตรานี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกฎหมายว่าด้วยการ เหมืองแร่และการป่าไม้
มาตรา 13 เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทแห่งประมวลกฎหมาย นี้ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานที่ดินจังหวัดขึ้น
จังหวัดใดมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งที่ทำการที่ดิน มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งสำนักงานที่ดินสาขาขึ้นโดยให้สังกัดอยู่ใน สำนักงานที่ดินจังหวัด การจัดตั้งสำนักงานที่ดินจังหวัดและสำนักงานที่ดินสาขา ให้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ขอบคุณที่มา;กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย