การจ่ายค่าส่วนกลางให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเมื่อคำนึงถึงความจำเป็นที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ต้องบริหารจัดการให้หมู่บ้าน อยู่ในสภาพที่ดี สังคมที่ดี ผู้อยู่อาศัยมีความสุข แต่ที่พบเห็นเสมอคือจะมีผู้อาศัยจำนวนหนึ่ง มักอ้างสิทธิว่าตัวเองมีสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวและสิทธิในพื้นที่ส่วนรวมภายในหมู่บ้าน แต่ปฏิเสธหน้าที่และความรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยจะอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานาลูกบ้านที่ไม่จ่ายค่าส่วนกลาง เป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริหารและกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งต่างก็พยายามหาวิธีทางจัดการในรูปแบบที่ต่างกัน บ้างครั้งก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง
การดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มักจะใช้วิธีการจากเบาไปหาหนัก มีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนสติกเกอร์ เข้า-ออกหมู่บ้านทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อกระตุ้นให้ลูกบ้านมาชำระค่าส่วนกลาง โดยแลกกับในการเข้า-ออกหมู่บ้านที่สะดวก แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้กับลูกบ้านที่เห็นแก่ตัวได้ เพราะผู้ที่ไม่ชำระก็มักจะยอมแลกบัตรทุกเช้า-เย็น หรือไม่ก็ยอมลงมาจากรถ เพื่อยกไม้กั้นทางเข้า-ออกด้วยตัวเองก็มี
วิธีที่แรงขึ้นมาอีกขั้น คือการงดจัดเก็บขยะ หรืองดสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชย กรณีมีขโมยขึ้นบ้าน แต่ก็อาจจะไม่ได้ผลมากนัก เพราะลูกบ้านที่จงใจไม่จ่าย จะไม่สนและไม่กลัวขโมยก็มี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 50 บัญญัติไว้ว่าผู้ที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และในกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน (ซึ่งจะคล้ายกับ พ.ร.บ.อาคารชุด)
ผลทางกฎหมาย คือเมื่อลูกบ้านผู้ค้างชำระเกิน 6 เดือน ให้นิติบุคคลสามารถระงับการทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินได้ แต่เมื่อมาคิดดูดี ๆ แล้วจะพบว่า กว่าผู้ซื้อบ้านจะผ่อนหมด จนถึงวันจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ก็ใช้เวลาประมาณ 15-25 ปี กว่าจะทำนิติกรรมอีกครั้งก็ต้องรอเป็นสิบ ๆ ปี ถ้าไม่ยอมจ่ายทำไมคำตอบจากที่พบ จากแนวทางปฏิบัติของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเคยปฏิบัติมาคือ การฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ได้ผลแน่นอน 100% และปัจจุบันศาลได้มีการพิจารณาคดีหลายร้อยคดี มีแนวทางที่ชัดเจนว่าผู้อาศัยต้องเป็นผู้มีหน้าที่ชำระค่าส่วนกลาง เพราะเห็นว่า ในเมื่อเราซื้อบ้านจัดสรร เราย่อมต้องรู้อยู่แล้วว่า เราจะต้องจ่ายค่าส่วนกลาง
ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านจัดสรรทั้งหลายขออย่าได้ดื้อดึง หรือเอารัดเอาเปรียบเพื่อนบ้านเลยนะครับ เพราะในที่สุดแล้วเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ผู้ซื้อบ้านก็ต้องเสียทั้งค่าส่วนกลาง ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าทวงถาม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนาย และยังไม่นับรวมค่าเสียเวลา และอื่น ๆ อีกมากนะครับ.
การดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มักจะใช้วิธีการจากเบาไปหาหนัก มีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนสติกเกอร์ เข้า-ออกหมู่บ้านทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อกระตุ้นให้ลูกบ้านมาชำระค่าส่วนกลาง โดยแลกกับในการเข้า-ออกหมู่บ้านที่สะดวก แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้กับลูกบ้านที่เห็นแก่ตัวได้ เพราะผู้ที่ไม่ชำระก็มักจะยอมแลกบัตรทุกเช้า-เย็น หรือไม่ก็ยอมลงมาจากรถ เพื่อยกไม้กั้นทางเข้า-ออกด้วยตัวเองก็มี
วิธีที่แรงขึ้นมาอีกขั้น คือการงดจัดเก็บขยะ หรืองดสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชย กรณีมีขโมยขึ้นบ้าน แต่ก็อาจจะไม่ได้ผลมากนัก เพราะลูกบ้านที่จงใจไม่จ่าย จะไม่สนและไม่กลัวขโมยก็มี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 50 บัญญัติไว้ว่าผู้ที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และในกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน (ซึ่งจะคล้ายกับ พ.ร.บ.อาคารชุด)
ผลทางกฎหมาย คือเมื่อลูกบ้านผู้ค้างชำระเกิน 6 เดือน ให้นิติบุคคลสามารถระงับการทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินได้ แต่เมื่อมาคิดดูดี ๆ แล้วจะพบว่า กว่าผู้ซื้อบ้านจะผ่อนหมด จนถึงวันจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ก็ใช้เวลาประมาณ 15-25 ปี กว่าจะทำนิติกรรมอีกครั้งก็ต้องรอเป็นสิบ ๆ ปี ถ้าไม่ยอมจ่ายทำไมคำตอบจากที่พบ จากแนวทางปฏิบัติของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเคยปฏิบัติมาคือ การฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ได้ผลแน่นอน 100% และปัจจุบันศาลได้มีการพิจารณาคดีหลายร้อยคดี มีแนวทางที่ชัดเจนว่าผู้อาศัยต้องเป็นผู้มีหน้าที่ชำระค่าส่วนกลาง เพราะเห็นว่า ในเมื่อเราซื้อบ้านจัดสรร เราย่อมต้องรู้อยู่แล้วว่า เราจะต้องจ่ายค่าส่วนกลาง
ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านจัดสรรทั้งหลายขออย่าได้ดื้อดึง หรือเอารัดเอาเปรียบเพื่อนบ้านเลยนะครับ เพราะในที่สุดแล้วเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ผู้ซื้อบ้านก็ต้องเสียทั้งค่าส่วนกลาง ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าทวงถาม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนาย และยังไม่นับรวมค่าเสียเวลา และอื่น ๆ อีกมากนะครับ.