วันนี้
Home » , » รวมรายชื่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์

รวมรายชื่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์

กระทรวงมหาดไทย
  1.กรมที่ดิน »»
ภารกิจ / วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ภารกิจตามประมวลกฎหมายที่ดิน
-การดำเนินงานออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ราษฎร
-ให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น
-ประเมินราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น
-จัดที่ทำกินให้ประชาชนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ภารกิจตามกฎหมายอื่น
ควบคุมการจัดสรรที่ดิน
- การจดทะเบียนอาคารชุด
- การควบคุมช่างรังวัดเอกชน

2.กรมโยธาธิการ และ ผังเมือง »»

อำนาจหน้าที่

 ( 1 ) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
 กฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
 ( 2 ) วางและจัดทำผังเมืองประเภทอื่นๆ ตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามที่ส่วนราชการอื่นร้องขอ และดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองนั้นๆ
( 3 ) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
( 4 ) ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางผัง วิจัย การติดตามประเมินผล และพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมืองและโยธาธิการ รวมทั้งการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานและคู่มือด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
( 5 ) ดำเนินการเกี่ยวกับการวางผัง ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง บูรณะเมืองหรืออาคาร และสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ
( 6 ) ให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับงานออกแบบ งานก่อสร้าง และงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมแก่หน่วยงานต่างๆ
( 7 ) ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้างและควบคุมอาคารก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการบูรณะและบำรุงรักษา
( 8 ) ดำเนินการประสาน กำกับดูแล สนับสนุนและพัฒนาให้เป็นไปตามผังเมือง รวมทั้งกำกับตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
( 9 ) ดำเนินการพัฒนาระบบและบริหารข้อมูลการผังเมืองและโยธาธิการ
( 10 ) ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรของกรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานอื่นด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
( 11 ) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
------------------------------------------------------------------------------------------------              
          กระทรวงการคลัง
     

1.กรมธนารักษ์ »»
  กลุ่มงานพัฒนาธุรกิจและศักยภาพที่ราชพัสดุ มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานการใช้ แนวคิดและรูปแบบโครงการของที่ราชพัสดุ และสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุ จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนา และใช้ที่ราชพัสดุ ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

2.. สำนักบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการปกครอง การดูแล การบำรุงรักษา และการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ราชพัสดุ รวมทั้งจัดหาประโยชน์และทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ราชพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร ปฎิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

3.สำนักบริหารที่ราชพัสดุ 1-2 มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ราชพัสดุรวมทั้งการจัดหาประโยชน์และทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. สำนักบริหารจัดการฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ มีอำนาจหน้าที่จัดทำและบริหารฐานข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนหลักฐาน ที่ราชพัสดุ สำรวจรังวัดและจัดทำแผนที่ที่ราชพัสดุปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

5. สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ (75 พื้นที่) มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่รับผิดชอบ ดำเนินการเกี่ยวกับการปกครองการดูแล การบำรุงรักษา และการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุ ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ราชพัสดุ รวมทั้งการจัดหาประโยชน์และทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับเงินคงคลังและเงินตราที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

6. สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานการประเมินราคาของอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
-------------------------------------------------------------------------------------------------
กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์

กรมป่าไม้»»

      เพื่อให้การจัดการและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ สามารถกระทำ โดยต่อเนื่องในระยะยาวและประสานสอดคล้องกับ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น จึงสมควรกำหนด นโยบายการ ป่าไม้แห่งชาติไว้ให้เป็นการแน่นอน เพื่อให้ ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้มีความ เข้าใจร่วมกันและถือเป็นแนวทางปฏิบัติ อัน จะทำให้การพัฒนา ป่าไม้เป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดัง นี้ 
        1. ให้มีการกำหนดแนวทางการ จัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ในระยะยาวอันจะ ทำให้ประเทศได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าทาง สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงและ สิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยเน้นให้มีการประสานกันระหว่างทรัพยากรป่า ไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่น 
        2. ส่งเสริมบทบาท และหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ และภาคเอกชนให้มี ส่วนรับผิดชอบในการจัดการและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ร่วมกัน 
        3. ปรับปรุงระบบการบริหารงาน ป่าไม้ของชาติให้สอดคล้องกับปริมาณคุณภาพและสภาพ ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 
        4. กำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยใน อัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศเพื่อประโยชน์ 2 ประการ ดังนี้ 
                4.1 ป่าเพื่อการอนุรักษ์ กำหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่หายากและป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิด จากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และนันทนาการของประชาชนใน อัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ
                4.2 ป่าเพื่อเศรษฐกิจ กำหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และ ของป่าเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ
        5. รัฐ และภาคเอกชน จะพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ และจะจัดการพัฒนาให้อำนวยประโยชน์ทั้งในทางตรง และทางอ้อมโดยสม่ำเสมอตลอดไป
        6. ให้เพิ่มการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรเพื่อลดการทำลาย พื้นที่ป่าไม้ 
        7. เพื่อก่อให้เกิดการประสาน การใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดอื่นๆ เช่น ที่ดิน แหล่งน้ำ และทรัยากรธรณี รวมทั้งเพื่อก่อให้เกิดการประสานความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของรัฐกับ ภาคเอกชนและประชาชนในท้องถิ่น รัฐจะจัดให้ มีแผนพัฒนาป่าไม้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผน พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ 
        8. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ด้วย การจัดการป่าไม้ทั้งในระบบวนวัฒน์แบบเลือกตัด และระบบวนวัฒน์แบบตัดหมด ตามหลักวิชาการ โดย เฉพาะในระบบตัดหมดนี้ เมื่อตัดแล้วให้ปลูก ทดแทนในพื้นที่ที่ถูกตัดทันที 
        9. เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และการป้องกันภัยอันเกิดจากสิ่งแวดล้อมรัฐจะต้องเร่งรัดปรับปรุงการวางผังเมืองและกำหนดพื้นที่ป่าไม้ให้แน่นอนเพื่อกำหนดเขตการใช้ ประโยชน์ที่ดิน สำหรับเป็นพื้นที่ที่ อยู่อาศัย พื้นที่ประเภทชนบทและพื้นที่เกษตรกรรมในแต่ละ จังหวัดที่แน่นอนเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ 
        10. การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้ระดับ ชาติให้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
        11. เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้สึก รักและหวงแหน รู้จักใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างประหยัด รัฐจะต้องให้ความรู้ ทัศนคติ ความสำนึก ความรู้สึก และทักษะ แก่ ประชาชนเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่จะได้ รับจากทรัพยากรป่าไม้และผลเสียจากการตัดไม้ ทำลายป่า การใช้สอยไม้อย่างฟุ่มเฟือย จัดให้มี การเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจ แก่ประชาชน เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ที่มีต่อส่วนรวม 
        12. ให้มีการพัฒนาด้านป่าไม้ โดย ส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนและภาครัฐบาลเพื่อ ใช้ภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการอุตสาหกรรม และสนับ สนุนให้มีการส่งออกไป จำหน่ายต่างประเทศ ส่ง เสริมการปลูกป่าชุมชน ส่งเสริมการปลูกป่าใน ที่ดินของรัฐ และการปลูกป่าตามหัวไร่ปลาย นา หรือการปลูกป่ารายย่อยเพื่อประโยชน์ใช้สอย ใน ครัวเรือน 
        13. สนับสนุนให้มีโรง งานอุตสาหกรรมแบบต่อเนื่องและโรงงานเยื่อกระดาษ เพื่อ นำทุกส่วนของไม้มาใช้ประโยชน์และส่งเสริม ให้มีการใช้วัสดุอื่นทดแทนไม้
        14. ให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่ออำนวยผล ให้การรักษาและเพิ่มทรัพยากรป่าไม้และการตัดฟัน ไม้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        15. การดำเนินการวิจัยด้านป่าไม้ ให้กรมป่าไม้ขอความ ร่วมมือจากมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาระดับสูงต่างๆ แทนการตั้งสถาบันวิจัยป่าไม้ระดับชาติ
        16. เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง จึงให้มี การใช้ไม้เพื่อพลังงาน โดยให้มีการปลูกป่า เพื่อเป็นแหล่งพลังงาน 
        17. กำหนดพื้นที่ที่มี ความลาดชันโดยเฉลี่ย 35 เปอร์เซนต์ขึ้นไป ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้โดยไม่อนุญาตให้มีการออกโฉนดหรือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
        18. กำหนดแนวทางปฏิบัติงานที่แน่นอนชัดเจนเกี่ยว กับการแก้ปัญหาการทำลายป่าในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำไร่เลื่อนลอย ภัยจากไฟป่า การ ทำลายป่าจากชนกลุ่ม น้อย การรุกล้ำพื้นที่ป่าจากเชิง เขา โดยให้มีการกำหนดมาตราการและขั้นตอน ที่แน่นอนชัดเจน เกี่ยวกับการปราบปรามและการ ลงโทษผู้กระทำผิด รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ รวมการปราบปรามในแต่ละภาคและให้มี มาตราการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีอิทธิพล และผู้กระทำผิดไว้เป็นหลักในการปฏิบัติงาน ของหน่วยราชการและภาคเอกชน 
        19. กำหนดให้ มีสิ่งจูงใจในการส่งเสริมการปลูกป่า ภาคเอกชน 
        20. กำหนดให้มีการวางแผน ทรัพยากรมนุษย์ และการตั้งถิ่นฐานในท้องถิ่น ให้ สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  

 กรมพัฒนาที่ดิน »»
หน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2537

  • 1. ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัยทำสำมะโนดินและที่ดิน เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน
  • 2. ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
  • 3. ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร
  • 4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินหรือที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม»

  •  1. จัดหาที่ดินเพื่อนำมาปฏิรูปที่ดิน ทั้งที่ดินของรัฐและโดยการจัดซื้อ หรือเวนคืน จากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น
ด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิ์ตามที่ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๙ กำหนด

  •  2. การจัดที่ดิน ให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเป็น เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๓๕ สำหรับที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและให้แก่บุคคลอื่นสำหรับใช้ที่ดิน เพื่อกิจการที่เป็นการสนับสนุนและเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

  •  3. การควบคุมสิทธิ์ในที่ดิน
  •  4. การพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ทั้งพัฒนาอาชีพและพัฒนาขั้นพื้นฐาน
--------------------------------------------------------------------------------------------
   กระทรวงคมนาคม

1. กรมทางหลวง»»
มีหน้าที่ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างบูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และ ทางหลวงสัมปทานทั่วราชอาณาจักร เพื่อ
ประโยชน์ ในการพัฒนาประเทศในด้านการคมนาคม การเศรษฐกิจ การศึกษา การปกครอง และป้องกันประเทศ โดยกรมทางหลวงมีความ
รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจออกแบบ งานก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงเหล่านี้ เพื่อเชื่อมต่อจุดสำคัญ ทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองและการทหาร โดยคำนึงถึง ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติตามมาตรฐานที่เหมาะสมกับปริมาณ
การจราจรของแต่ละท้องถิ่น ในทุกภาค ทั่วประเทศ ตลอดจนอำนวยความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางหลวงและควบคุมการ
ใช้ทางหลวงให้ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เกี่ยวกับทางหลวง

2. กรมทางหลวงชนบท»»
พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไข
ปัญหาจราจร โดยสร้างทางเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (Bypass) และทางลัด (Shotcut) รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง (Mentors) การพัฒนาทาง
หลวง ท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาองค์กร ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
-------------------------------------------------------------------------------------------------

                กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร
1. สำนักงานสถิติแห่งฃาติ »»
สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำแผนงานและผังรวมสถิติของประเทศ
(2) จัดทำและส่งเสริมให้มีการใช้มาตรฐานสถิติตามหลักสากล
(3) ผลิตและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในระดับมหภาค ด้วยวิธีสำมะโนหรือสำรวจ และให้บริการข้อมูลสถิติทุกสาขาของประเทศ
(4) ผลิตและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐและข้อมูลสถิติที่สำคัญที่ไม่มีหน่วยสถิติใดจัดทำ
(5) ให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำข้อมูลสถิติให้กับหน่วยสถิติของประเทศ
(6) ประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศในด้านวิชาการสถิติ
(7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

                การนิคมอุตสาหกรรม »»
สร้างยุทธฐานการผลิต การค้า และการให้บริการในรูปนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นกลไกดุลยภาพที่นำไปสู่พัฒนาการของประเทศอย่างยั่งยืน ตามที่พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้
-------------------------------------------------------------------------------------------         
                การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย »» 
                องค์การคลังสินค้า»»          
                การทางพิเศษแห่งประเทศไทย»»      
                การเคหะแห่งชาติ»»           
                บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย»»       
                บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์»»    
                สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน สปส »»     
                บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน amc »»             
                กองทุนบำเน็จบำนาญราขการ กบข »»           
                บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย tamc »»              
                บรรษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ bam »»          
                ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์»»
                บริษัทบริหารสินทรัพย์สุชุมวิท »»

ที่มา : ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ